วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2550

สื่อกราฟิกประเภทแผนภาพ Diagram
เป็นสื่อที่รับรู้จากการมองเห็น โดยพยายามแสดงสาระที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ การทำงานของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้
แผนภาพลายเส้นแสดงระบบประปาเข้าอาคาร
1. แผนภาพลายเส้น เนื่องจากการมองภาพของจริงบางชนิดยากแก่การทำความเข้าใจ จึงมีการเขียนเป็นลายเส้นโดยลดความซับซ้อนในรายละเอียดลงไปบ้างก็ได้ หรือให้เหมือนมองทะลุผ่านเข้าไปภายในก็ได้ แล้วมีเส้นตรง เส้นโค้ง เป็นตัวเชื่อมโยงให้เห็นความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น แผนภาพลายเส้นแสดงการปิด-เปิดวงจรไฟฟ้า ระบบสูบน้ำขึ้นอาคาร
แผนภาพแบบรูปภาพการรับสัญญาณโทรทัศน์จากสายอากาศ 2 ชุด
2. แผนภาพแบบรูปภาพ เป็นแผนภาพที่ใช้ภาพจริง เช่น ภาพถ่าย หรือภาพเหมือนจริงที่เขียนขึ้นใหม่มาจัดเป็นองค์ประกอบแล้วแสดงความสัมพันธ์กันด้วยเส้นที่จัดไว้อย่างเป็นระเบียบ เช่น แผนภาพการทำงานของชุดเครื่องเสียง การรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์
แผนภาพแบบผสม และส่วนต่างๆ ของรถยนต์
3. แผนภาพแบบผสม เป็นการรวมกันระหว่างแบบลายเส้นและแบบรูปภาพ โดยเน้นที่ความเหมือนจริง แล้วเพิ่มลายเส้นลงไปในภาพ เพื่อแสดงความสัมพันธ์หรือการทำงานของสิ่งนั้นๆ เช่น ภาพแสดงการไหลเวียนอากาศในรถยนต์
สรุปเนื้อหา
ความหมายของสื่อการสอน
ความหมายของสื่อการสอน หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆที่ครูผู้สอนนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือเป็นตัวเชื่อมในการถ่ายทอด ความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณค่าและคุณสมบัติเศษแตกต่างกันในการเก็บความรู้และแสดงความหมาย บางชนิดสามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวมันเองแต่บางชนิดต้องอาศัยสื่ออื่นประกอบในการถ่ายทอดจึงจะสื่อความหมายได้ดี
สื่อบางชนิดได้รับการออกแบบเป็นอย่างดีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และหาประสบการณ์ได้ด้วยตนเอง โดยที่ครูสอนไม่จำเป็นต้องนำมาแสดงในขณะที่สอน สื่อชนิดนี้เรียกว่า สื่อการเรียนรู้(learning media) เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( computer – assistedinstruction ) บทเรียนสำเร็จรูป
( instructional textbook ) ศูนย์การเรียน( learning center )ชุดการเรียน(instructional package ) เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นสื่อการสอนหรือสื่อการเรียนรู้ต่างก็ทำหน้าที่เป็นพาหะในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากแหล่งกำเนิดต่างๆไปสู่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
คุณค่าสื่อการสอน
สื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนดังนี้
1. เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน
2. ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น
3. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวางขึ้น
4. ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน
5. แสดงความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆได้
6. ให้ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้
7. แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่ายขึ้น
8. อธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
9. สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆได้เช่น
9. 1 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้
9.2 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าขึ้นได้
9.3 ย่อสิ่งที่เล็กเกินไปให้เล็กลงได้
9.4 ขยายสิ่งที่ใหญ่เกินไปให้ใหญ่ขึ้นมาได้
9.5 นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาดูได้
9.6 นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้
คุณค่าของสื่อการสอนด้านต่างๆ
สื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณค่าในด้านต่างๆดังนี้
1. คุณค่าด้านวิชาการ
1.1 ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรงด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5
1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช้สื่อการสอน
1.3 ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
1.4 ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา
1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง แม่นยำและจำได้นาน
1.6 สื่อการสอนบางชนิดช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพวีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
2.1 กระตุ้นความสนใจและความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น
2.2 ทำให้ผู้เรียนเกิดคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
2.3 ทำให้เกิดความพึงพอใจในการเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นรูปธรรม
2.4 ทำให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระของบทเรียนได้นานกว่าการไม่ใช้สื่อการสอน
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจ
3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่างๆ
3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้พร้อมกันครั้งละหลายๆคน
3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง
สี
คุณลักษณะของสี เป็นการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเกิดความสวยงาม และความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง คุณลักษณะของสีที่ใช้ โดยทั่วไป มีดังนี้ คือ

เอกรงค์ (Monochrome) เป็นการใช้สีเพียงสีเดียว แต่มีหลาย ๆ น้ำหนัก ซึ่งไล่เรียงจากน้ำหนักอ่อนไปแก่ เป็นการใช้สีแบบดั้งเดิม ภาพ จิตรกรรมไทย แบบดั้งเดิมจะเป็นลักษณะนี้ ต่อมาเมื่อมีการใช้สีอื่น ๆ เข้ามาประกอบมากขึ้น ทำให้มีหลายสี ซึ่งเรียกว่า "พหุรงค์" ภาพแบบสี เอกรงค์ มักดูเรียบ ๆ ไม่ค่อยน่าสนใจ

วรรณะของสี (Tone) สีมีอยู่ 2 วรรณะ คือ วรรณะสีร้อน และ สีเย็น สีร้อนคือสีที่ดูแล้วให้ความรู้สึกร้อน สีเย็นคือสีที่ดูแล้วรู้สึกเย็น ซึ่งอยู่ใน วงจรสี สีม่วงกับสีเหลืองเป็นได้ทั้งสีร้อนและสีเย็น แล้วแต่ว่าจะอยู่กับกลุ่ม สีใด การใช้สีในวรรณะเดียวกันจะทำให้เกิดรู้สึกกลมกลืนกัน การใช้สี ต่างวรรณะจะทำให้เกิดความแตกต่าง ขัดแย้ง การเลือกใช้สีในวรรณะ ใด ๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการ และจุดมุ่งหมายของงาน

ค่าน้ำหนักของสี (Value of colour) เป็นการใช้สีโดยให้มีค่าน้ำหนัก ในระดับต่าง ๆ กัน และมีสีหลาย ๆ สี ซึ่งถ้าเป็นสีเดียว ก็จะมีลักษณะเป็น สีเอกรงค์ การใช้ค่าน้ำหนักของสี จะทำให้เกิดความกลมกลืน เกิดระยะ ใกล้ไกล ตื้นลึก ถ้ามีค่าน้ำหนักหลาย ๆ ระดับ สีก็จะกลมกลืนกันมากขึ้น แต่ถ้ามีเพียง1 - 2 ระดับที่ห่างกัน จะทำให้เกิดความแตกต่าง

ความเข้มของสี (Intensity)เกิดจาก สีแท้ คือสีที่เกิดจากการผสมกัน ในวงจรสี เป็นสีหลักที่ผสมขึ้นตามกกฎเกณฑ์และไม่ถูกผสมด้วยสีกลาง หรือสีอื่น ๆ จะมีค่าความเข้มสูงสุด หรือแรงจัดที่สุด เป็นค่าความแท้ของสี ที่ไม่ถูกเจือปน เมื่อสีเหล่านี้ อยู่ท่ามกลางสีอื่น ๆ ที่ถูกผสมให้เข้มขึ้น หรือ อ่อนลง ให้มืด หม่น หรือเปลี่ยนค่าไปแล้ว สีแท้จะแสดงความแรงของสี ปรากฎออกมาให้เห็น อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงาน ลักษณะเช่นนี้ เหมือนกับ ดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูสด ๆ หรือบานเย็น ที่อยู่ท่าม กลางใบเฟื่องฟ้าที่เขียวจัด ๆ หรือ พลุที่ถูกจุดส่องสว่างในยามเทศกาล ตัด กับสีมืด ๆ ทึบ ๆ ทึมๆ ของท้องผ้ายามค่ำคืน เป็นต้น

สีส่วนรวม (Tonality) เป็นลักษณะที่มีสีใดสีหนึ่ง หรือกลุ่มสีชุดหนึ่งที่ใกล้ เคียงกัน มีอิทธิพลครอบคลุม สีอื่น ๆ ที่อยู่ในภาพ เช่น ในทุ่งดอกทานตะวัน ที่กำลังออกดอกชูช่อบานสะพรั่ง สีส่วนรวมก็คือ สีของดอกทานตะวัน หรือ บรรยากาศการแข่งขันฟุตบอลในสนาม ถึงแม้ผู้เล่นทั้งสองทีมจะแต่งกาย ด้วยเสื้อผ้า หลากสีต่างกันก็ตาม แต่ สีเขียวของสนามก็จะมีอิทธิพลครอบ คลุม สีต่าง ๆ ทั้งหมด สีใดก็ตามที่มีลักษณะเช่นนี้ เป็นสีส่วนรวมของภาพ
การออกแบบกราฟิก
ความหมาย
การออกแบบหมายถึง กระบวนการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการออก
มาเป็นรูปแบบต่าง ๆทำให้เราสามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ซึ่งอาจเป็นทางตา
หูผิวสัมผัส รส กลิ่นก็ได้
แนวคิด....
การออกแบบ เกิดจากพื้นฐานทางความคิดและทางทัศนการสื่อสาร
(visual communication)
แนวคิด.....
การออกแบบเป็นการรักษาสมดุลระหว่างการแสดงออกหรือพลัง
ความคิดสร้างสรรค์เฉพาะบุคคล กับความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย
ความสำคัญ
การออกแบบเป็นเรื่องของมนุษย์โดย สัตว์อื่นๆไม่สามารถออกแบบได้ นอกจาก
การสร้างงานด้วยสัญชาตญาณเท่านั้น มนุษย์มีการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการ
ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การออกแบบมีมาพร้อมๆกับการเกิดของมนุษย์ ตั้งแต่อดีต
จนถึงปัจจุบัน และตั่งแต่เกิดจนตาย
เป้าหมาย
1. เพื่อความสะดวกสบายและตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2. เพื่อการสร้างสรรค์และแสดงคุณค่าของผลงาน
3. เพื่อการวางแผนในเชิงทรัพยากรหรือการลดต้นทุน
4. เพื่อประหยัดเวลาในการนำเสนอข่าวสาร
5. เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ผู้รับเข้าใจได้อย่างถูกต้อง
คุณสมบัติของ
นักออกแบบ
1. มีความรู้ความสามารถและทักษะในการออกแบบ
2. เข้าใจกระบวนการใช้งานออกแบบได้อย่างเหมาะสม
3. มีวิธีนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์และโดดเด่น
4. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
5. สามารถประยุกต์ใช้จิตวิทยาการรับรู้ได้อย่างดี
กระบวนการออกแบบ
1. พิจารณาเนื้อหา
2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
3. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของแต่ละงาน
4. จัดองค์ประกอบให้เหมาะสมกับข้อ1,2,และ3
สี color
สี หมายถึง แสงที่ตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสู่ตาเรา
ทำให้มองเห็นวัตถุเหล่านั้นเป็นสีต่าง ๆ ตามคุณลักษณะของแสงสะท้อน
มิติ
การใช้สีในการออกแบบ
• มิติ..สีโทนร้อน/สีโทนเย็น
• มิติ..สีกลมกลืน/สีตัดกัน
• มิติ..สีมืด/สีสว่าง
การใช้สีในการออกแบบ
มิติ..การใช้สีโทนร้อน/สีโทนเย็น
สีโทนร้อน ตื่นเต้น รุนแรง โดดเด่น
สีโทนเย็น ร่มรื่น ปลอดภัย เป็นกันเอง
การใช้สีในการออกแบบ
มิติ....การใช้สีกลมกลืน/สีตัดกัน
สีกลมกลืน นุ่มนวลอ่อนหวาน เป็นกันเอง พวกเดียวกัน
สีตัดกัน ตื่นเต้น ขัดแย้ง ลึกลับ จริงจัง แข็งแรง อันตราย
การสีในการออกแบบ
มิติ.. มิติการใช้สีมืด/สีสว่าง
สีมืด มั่นคง ลึกลับ เข้มแข็ง จริงจัง ลดปริมาณพื้นที่
สีสว่าง เปิดเผย กว่างขวาง เป็นกันเอง เพิ่มปริมาณพื้นที่
เส้นLine
เส้น เป็นองค์ประกอบที่มีรูปลักษณะเป็นรอยยาวต่อเนื่องกัน
หน้าที่สำคัญของเส้นคือการแสดงทิศทาง
ลักษณะของเส้นจำแนกได้ 2 กลุ่มคือ
กลุ่มเส้นตรงและกลุ่มเส้นไม่ตรง
กลุ่มเส้นตรง
เส้นตรงตั่งฉาก ให้ความรู้สึกมั่งคง สง่า
เส้นตรงแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบเงียบ ราบเรียบ
เส้นตรงเฉียง ให้ความรู้สึกรวดเร็ว ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน
กลุ่มเส้นไม่ตรง
เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน
เส้นคด ให้ความรู้สึกสับสน งุนงง กังวล
เส้นซิกแซก ให้ความรู้สึกรุนแรง ไม่ไว้ใจ ตื่นเต้น
พื้นผิว TEXTURE
พื้นผิวเป็นองค์ประกอบที่ให้ความรู้สึกสัมผัสด้านนอกสุดของวัตถุสิ่งของ
พื้นผิวมี 2 มิติ
1. มิติพื้นผิวเรียบ/พื้นผิวขรุขระ
2. มิติพื้นผิวด้าน/พื้นผิวมันวาว
การใช้พื้นผิวกับการออกแบบ
พื้นผิวเรียบ ให้ความรู้สึกมีระเบียบ จริงจัง เป็นทางการ
พื้นผิวขรุขระ ให้ความรู้สึกหน้ากลัว ลึกลับ ขบขัน
พื้นผิวด้าน ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง สบายๆ เฉื่อยชา
พื้นผิวมันวาว ให้ความรู้สึกตื่นเต้น รวดเร็ว ฉาบฉวย
Powered By Blogger